วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

อุทยานราชภักดิ์ หัวหิน

0 ความคิดเห็น
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้
กองทัพบกจัดสร้าง "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม" พร้อมจัดสร้างอุทยาน
ประวัติศาสตร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์" ซึ่งเป็นอุทยาน
ที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณ
สมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ๗ พระองค์ ได้แก่
๑.พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)
๒.สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๓.สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๔.สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)
๕.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
๖.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
๗.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งทุกพระองค์ล้วนทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ

รูปจาก tnamcot.com 

รูปจากคุณ สมคิด รุจีปกรณ์
 รูปจากคุณ สมคิด รุจีปกรณ์

รูปจากคุณ สมคิด รุจีปกรณ์














     อุทยานราชภักดิ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองทัพบก ใน ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตรงข้ามกับ สวนสนประดิพัทธ์ โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๒๒๒ ไร่เศษ
ซึ่งองค์ประกอบภาพรวมของอุทยานราชภักดิ์ จะมีโครงสร้างหลักที่สำคัญ จำนวน ๓ ส่วนหลัก ประกอบด้วย
๑. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ ใช้พื้นที่ประมาณ ๕ ไร่ โดยรูปแบบของพระบรมราชานุสาวรีย์ จะจัดสร้างในลักษณะพระอิริยาบถทรงยืน ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน ๑๓.๙ เมตร หล่อด้วยโลหะสำริดนอก

๒. ลานอเนกประสงค์ มีเนื้อที่ประมาณ ๖.๑ ไร่ ใช้สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพ และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ

๓. อาคารพิพิธภัณฑ์ หรือห้องจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ โดยการค้นคว้า รวบรวม และจัดทำพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญของบูรพกษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะดำเนินการจัดสร้างบริเวณด้านล่างของฐานพระบรมราชานุสาวรีย์

รูปจาก Mthai



กรอบระยะเวลาดำเนินงาน
๑. การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ และการก่อสร้างลานอเนกประสงค์
ตั้งแต่เดือน พ.ย.๕๗-ส.ค.๕๘ รวมระยะเวลา ๑๐ เดือน
           ๒. การจัดทำนิทรรศการแสดงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบูรพกษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.๕๘ เป็นต้นไป หรือภายหลังจากการก่อสร้างฐานและพระบรมราชานุสาวรีย์เสร็จเรียบร้อย

     อุทยานราชภักดิ์อยู่ห่างลงไปทางใต้จากหัวหิน ๑๔ กิโลเมตร ตั้งอยู่ตรงข้าม สวนสนประดิพัทธ์หากวิ่งตรงมาจากกรุงเทพมหานคร จะไปที่อุทยานราชภักดิ์โดยตรงในหน้าเทศกาลแนะนำควรเลี่ยงเมืองหัวหิน โดยถนนบาสพาส ชะอำ-ปราณบุรี เมื่อถึง ๓ แยกรอยต่อถนนเพชรเกษม ให้เลี้ยวซ้ายวิ่งไปอีกเล็กน้อย ก็จะถึงอุทยานราชภักดิ์ โดยเลี่ยงการจราจรในตัวเมือง ชะอำ และ หัวหิน

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

ที่ตั้ง และ การเดินทางมายัง อุทยานราชภักดิ์ หัวหิน

0 ความคิดเห็น
อุทยานราชภักดิ์อยู่ห่างลงไปทางใต้จากหัวหิน ๑๔ กิโลเมตร ตั้งอยู่ตรงข้าม สวนสนประดิพัทธ์หากวิ่งตรงมาจากกรุงเทพมหานคร จะไปที่อุทยานราชภักดิ์โดยตรงในหน้าเทศกาลแนะนำควรเลี่ยงเมืองหัวหิน โดยถนนบาสพาส ชะอำ-ปราณบุรี เมื่อถึง ๓ แยกรอยต่อถนนเพชรเกษม ให้เลี้ยวซ้ายวิ่งไปอีกเล็กน้อย ก็จะถึงอุทยานราชภักดิ์ โดยเลี่ยงการจราจรในตัวเมือง ชะอำ และ หัวหิน